สิ่งอำนวยความสะดวก ⑦

ซากโบราณเคียะระโนะโกะโชะ


ซากโบราณเคียะระโนะโกะโชะ ถูกสร้างขึ้นจากภาพที่อยู่อาศัยของฟูจิวาระ โนะ ฮิเดฮิระ ขุนนางคนที่ 3 จากตระกูลฟูจิวาระเหนือ ผู้สร้างยุคสมัยแห่งทองคำในวัฒนธรรมฮิระอิซุมิ ตัวอาคารเป็นแบบชินเด็นซุคุริตามเอกลักษณ์ของยุคเฮอัง โดยมีอาคารชินเด็นเป็นศูนย์กลาง ห้องพักใหญ่มีทางเดินเชื่อมไปยังอาคารแฝดทางทิศตะวันออก เหนือ และตะวันตก และยังมีทางเชื่อมต่อไปยังตัวอาคารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรือนบริวาร เรือนผู้ดูแลเอกสารสำคัญ ห้องครัว โถงทางเข้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีอาคารสึริโดะโนะที่ปลายทางเชื่อมจากตึกแฝดนิชิโนไต ซึ่งเคยถูกใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจของเหล่าชนชั้นสูง
ทิวทัศน์รอบนอกมีทั้งบึงน้ำ เกาะและเนินเทียมเล็กๆ อีกทั้งยังรายล้อมไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ตามที่ปรากฏในหนังสือการทำสวนยุคโบราณ ทิวทัศน์นี้เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในยุคเฮอัง และอาคารแห่งนี้ก็ยังเป็นอาคารเพียงหนึ่งเดียวในญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามสไตล์ชินเด็นซุคุริ

แวะให้อาหารปลาคาร์ฟในบึงจากสึริโดะโนะ จินตนาการว่าคุณมาจากตระกูลขุนนางยุคเฮอัง!

ยาริมิซุ: ทางน้ำไหลจากนอกตัวบ้านผ่านใต้ทางเดินเข้าสู่สวน

คุรุมายะโดริ

ตระกูลขุนนางในยุคเฮอังจะมีบ้านไว้สำหรับเก็บหลังคามุงเกวียนที่ตนใช้ในการเดินทาง

สัมผัสวัฒนธรรมของตระกูลขุนนางแห่งยุคเฮอัง!

โซนเคียะระโนะโกะโชะมีกิจกรรมมากมายให้คุณได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการแต่งชุดกิโมโนตามยุคสมัย การระบายสีบนเปลือกหอย เกมกระดานญี่ปุ่นโบราณ และเกมโยนธนูลงไห

นักท่องเที่ยวสามารถลองสวมจูนิฮิโทเอะอย่างเป็นทางการ (ชุดกิโมโน 12 ชั้น) โซคุไต (ชุดกิโมโนในพิธีการ) โจคัง (นางในราชสำนัก) และสึโบโซโซกุ (ชุดหม้อ) โดยมีค่าธรรมเนียม
https://www.fujiwaranosato.com/dressing/

ซากโบราณมุเรียวโคอิน

ยืนอย่างสง่าที่ด้านหลังสวน…

ว่ากันว่าวัดมุเรียวโคอินเป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นเลียนแบบวัดเบียวโดตามคำสั่งของฮิเดฮิระ แต่จากการขุดพบ ทำให้เราได้รู้ว่าวัดแห่งนี้มีขนาดใหญ่กว่าวัดเบียวโดมาก และวิวพระอาทิตย์ตกจากวัดมุเรียวโคอินเดิม ประกอบกับเขาคินเคซานทางทิศตะวันตกคงจะสวยล้ำอย่างกับสรวงสวรรค์ตะวันตกเลยก็ว่าได้ และเพื่อที่จะสร้างทิวทัศน์ให้มีความคล้ายคลึงกับของเดิม วัดมุเรียวโคอินแห่งใหม่นี้จึงมีฉากหลังเป็นภูเขา และมีขนาดประมาณ 1 ใน 4 ของวัดเดิม

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีที่นี่คือตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน
ในช่วงเวลาเดียวกัน กิจกรรมประดับไฟใบไม้เปลี่ยนสี (ตามแผน) จะจัดขึ้นในวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์